เผลอแปปเดียวเราก็มาถึงเดือนสุดท้ายของปีอีกแล้วววว ทุกเดือนธันวาของปีก็จะเป็นเดือนที่เราต้องเตือนตัวเองตลอดเวลาว่า อย่าลืม! จ่ายค่าภาษีรถยนต์ ก่อนหน้านี้ก็คือให้พี่ชาย หรือคนขับรถไปต่อให้ตลอด จนเคยตัว ปีนี้เลยอยากทำเองดูว่ามันทำกันยังไง ถึงแม้ว่าจะอยู่ไทยอีกแค่เดือนเดียว แต่ก็ต้องต่อ เผื่อว่าคนที่บ้านจะใช้รถ หรือเรากลับมาต้องใช้อะเนอะ ตอนนี้ประกันภาคสมัครใจหมดอายุไปแล้ว แต่ตามกฎหมายต้องต่อประกันพรบ.และจ่ายภาษีทุกปีอยู่ดี เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ ประกันรถ ภาคสมัครใจ และการเคลมในแบบฉบับเข้าใจง่าย วันนี้เลยอยากมาอธิบายต่อจากนั้นเกี่ยวกับประกันพรบ. หรือที่เค้าบังคับให้ทำ พร้อมวิธีการ “จ่ายค่าภาษีรถยนต์” ผ่านคอมนั่นเอง 🙂

จ่ายค่าภาษีรถยนต์ หรือต่อภาษีรถยนต์ คืออะไร ?

Image result for ภาษีรถยนต์

Credit to: Khaorot.com

เคยเห็นเจ้าใบชมพูๆอันนี้ที่ติดหน้ารถกันไหม เราว่าผู้หญิงทุกคนคงเคยเห็น แต่ไม่แน่ใจว่าคืออะไร5555 คือรู้ว่าเกี่ยวกับภาษี แต่ไม่รู้มันต้องต่อยังไง มองไปมองมาก็ เห้ย! มันหมดอายุแล้วนิ ทำไงละ บางคนก็ปล่อยละเลยไป ขนาดโดนตำรวจจับก็ยังไม่รู้ว่าต้องทำไง หนึ่งในนั้นก็คือเรานั่นเอง 🙁

เจ้าใบชมพู ๆ อันนี้ละคือใบภาษีรถยนต์ที่ติดก็เพื่อเอาบอกว่าฉันจ่ายแล้วนะ และฉันก็มีพ.ร.บ. ด้วย เพราะทุกครั้งที่จะจ่ายภาษีจะต้องมีเอกสารว่าได้ต่อ หรือทำพ.ร.บ.ในปีนั้น ๆ ไปแล้ว เพราะถ้าไม่มีพ.ร.บ.ก็ไม่สามารถต่อภาษีได้นะจ้ะะ

พ.ร.บ. VS. ประกันภาคสมัครใจ

พ.ร.บ. หรือที่ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่อยู่บนนถนน ที่ได้ทำการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้องต้องทำ และมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนที่ใช้ถนนว่าจะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น

ส่วนประกันสมัครใจก็คือประกันชั้น 1, 2, 3, 2+ หรือ 3+ และที่เราเห็นมีการโฆษณา เพราะอันนั้นกฎหมายไม่ได้บังคับให้เราซื้อ แต่เราซื้อเพราะมันมี benefit ที่เราได้ เช่นการซ่อมรถของเรา และของอีกคนในกรณีที่เราไปชนเขานั่นเอง

Step by Step: วิธีจ่ายค่าภาษีรถยนต์ และพ.ร.บ.ออนไลน์

ตอนแรก ๆ เราเคยได้ยินว่าสามารถทำได้ใน 7-11 แต่ก็ไม่ได้ลองดูเหมือนกัน เพราะอยากลองทำแบบ online ดูว่าจะเป็นไง และก็ง่ายแสนง่ายจริง ๆ ด้วย ไม่ต้อง scan หรือแนบเอกสารอะไรทั้งสิ้น แค่ขอเบอร์บัตรประชาชนอย่างเดียวเลย

1. เข้าไปสมัครลงทะเบียนสมาชิกใหม่ใบเว็บกรมการข่นส่งทางบก

(บริการ > ลงทะเบียนสมาชิกใหม่)

2.  กรอกข้อมูลให้ครบ

โดยที่ Username ของเราจะเป็นเลขชัตรประชาชนของเรานั่นเอง Password ต้องมีตัวอักษรอังกฤษเล็ก และใหญ่ และมีเลข พร้อมตัวอักษรพิเศษ เช่น @#!

3.  หลังจากลงทะเบียนเสร็จ ก็เข้าระบบได้

เราจะมาเจอหน้านี้ ให้เค้าไปตรง บริการ > ชำระภาษีประจำปี > ชำระภาษีประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต

4.  พอเข้าไป เราก็กรอกข้อมูลรถของเราที่อยากจะต่อภาษี

พอเราค้นหาได้แล้ว ก็จะมีรายการข้อมูลของรถขึ้นมาในลิส  ^ ให้เลือกรถ และไปต่อได้

(ถ้าไม่รู้ให้ดูที่ใบคู่มือจดทะเบียน หรือ สมุดเล่มสีน้ำเงินนั่นเอง)

Image result for ใบคู่มือจดทะเบียน

  Credit to: MThai Auto

— 4.1  สำหรับรถที่อายุ 7 ปีขึ้นไป ให้ไปตรวจสภาพรถก่อนที่ตรอ. ใกล้บ้าน —

แต่! ถ้ารถอายุเกิน 7 ปี จะกดต่อภาษีไม่ได้ และขึ้นแบบนี้:

ขอบคุณรูปตัวอย่างจาก https://pantip.com/topic/40681859

ตรอ. คืออะไร? สิ่งที่คนมีรถต้องรู้ เพื่อสุขภาพที่ดีของรถยนต์ของเรา

ถ้าเป็นแบบนี้ เราไม่ต้องตกใจ หรืองงไป เพราะงงให้แล้วจ้าา ข่าวดีคือ ปีนี้ รถที่อายุ 7 ปีขึ้นไป สามารถต่อภาษี online ได้แล้ว ก่อนหน้านี้เหมือนจะไม่ได้ คือรถเราก็ครบ 7 ปีพอดี และระบบก็ให้เริ่มทำได้ปีนี้พอดี เลยโชคดีไป ไม่งั้นก่อนหน้านี้เข้าใจว่าต้องไปขนส่งเอง หรือให้ตรอ. เค้าทำให้เรา และเราจ่ายตังค่าทำเอกสารให้เค้า พร้อมมารับอีกวัน ซึ่งคือลำบากกว่าทำ online เพราะเราแค่ทำและให้เค้าส่งมา

อะพูดมาก เราเริ่มจาก:

  1. การ search ใน google map เลยค่าา ว่าตรอ. หรือตรวจสภาพรถ เนี่ย แถวบ้านมีตรงไหนบ้าง

ต่อภาษี ตรวจสภาพรถที่ตรอ.

2. พอเจอแล้วก็หาเวลาสัก 1 ชม. ไปตรวจ อย่าลืมเอาคู่มือจดทะเบียน หรือหนังสือน้ำเงินไปด้วยนะ หรือจะสำเนาก็ได้ เค้าจะได้ key ให้ขนส่งถูกว่ารถที่เอามาตรวจคืออะไรยังไง

ต่อภาษี ตรวจสภาพรถที่ตรอ.

3. เอารถเข้าไป ก็ออกไปรอแปป ให้กุญแจพี่เค้า พี่เค้าจะเอารถเราไปตรวจให้

ต่อภาษี ตรวจสภาพรถที่ตรอ.

4. พอได้ใบรับรองแล้วว่า โอเค รถเราผ่านการตรวจสภาพแล้วก็จ่ายเงิน ไม่ต้องเงินสดแล้วนะ เดียวนี้ใครๆก็รับโอน

5. จ่ายเงินเสร็จ ทางตรอ.เค้าจะให้ใบมา เพื่อบอกผลต่างๆ ว่ามีการตรวจอะไรบ้าง ดูเหมือนเยอะมาก แต่ใช้เวลาแปปเดียว งงเหมือนกัน

ต่อภาษี ตรวจสภาพรถที่ตรอ.

6. ใบนี้เราเก็บเอาไว้เพื่อที่เราสามารถเอาไปต่อภาษีได้ที่ขนส่งด้วยตัวเองได้ แต่ถ้าเราอยากทำแบบ online เราก็แค่ขับรถกลับบ้าน เปิดคอม และทำตามขั้นตอนต่อเลย ไม่ต้องใช้ใบอะไรทั้งสิ้น เพราะทางตรอ.เข้าใส่ข้อมูลทะเบียนรถเราเข้าระบบขนส่งเรียบร้อย

7. ขนาดวันที่เราไปเป็นวันหยุด กลับบ้านมาไม่ถึง 30 นาทีก็ update แล้ว เร็วมาก รู้ได้ไงว่า update แล้ว? ก็มันไม่ขึ้นให้ไปตรวจรถแล้ว และสามารถดำเนินการทำ step ต่อไปได้เลย

5.  หน้าต่อไปจะเป็นการขอข้อมูลพ.ร.บ.

ถ้ามีอยู่แล้ว ให้ใส่เลขกรมธรรม์ที่ได้มาจากการซื้อพ.ร.บ. พร้อมกับบริษัทประกันที่เราซื้อมาได้เลย

พอดีของเราหมด ก็เลยจะซื้อผ่านระบบด้วยเลยทีเดียว วิธีก็ง่ายแสนง่าย กรอกรายละเอียดตามนี้ พร้อมใส่ประเภทเอกสารเป็นบัตรประชาชน


UPDATE เค้ามีเปลี่ยนระบบนิสหน่อย คือถ้าจะซื้อพรบ ต้องไปผ่านเว็บของประกันนั่นๆ เอง ระบบจะพาเราไป แต่เรารู้สึกว่ามันมีปัญหาตอนซื้อเสร็จแล้วข้อมูลไม่เข้าเว็บกรมขนส่งตามอัตโนมัติ เราเลยแบบงง ๆ หน่อย

ทางที่ดีคือตอนซื้อในเว็บประกัน เค้าจะมีให้เราใส่เบอร์โทร และ email เพื่อตอนที่เราซื้อเสร็จ จะมีเลขกรมธรรม์ให้เรา เราเอาเลขนี้ไปใส่ตอนต่อภาษีในเว็บได้เลยว่าได้ซื้อพ.ร.บ.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เค้าไม่ได้ตรวจอะไรมาก แต่ขอให้เราแน่ใจว่าซื้อแล้วจริง ๆ เพราะถ้าไม่จริงจะมีโทษตามกฎหมาย ใส่มั่ว ๆ ไม่ได้นะเด้อ

ตามรูปนี้เลย สำหรับที่เราทำไปในปี 2562-2563  นั่นเอง

ถึงแม้เราจะเพิ่งซื้ออนไลน์ไปก็จริง แต่เนื่องจากข้อมูลไม่มา auto จากการซื้อผ่านเว็บประกันที่เว็บขนส่ง redirect พาเราไป เราก็เลยต้องกรอกว่ามีพ.ร.บ.แล้ว และใส่เลขกรมธรรม์เองแบบ manual เอง

ย้ำนะคะว่า หมายเลขกรมธรรม์ ไม่ใช่หมายเลขคำสั่งซื้อนะ


6.  ราคาทั้งหมดของทั้งภาษีรถยนต์ พร้อมพ.ร.บ.ระยะเวลา 1 ปี

7.  สามารถเลือกวิธีการชำระเงินได้แบบ 3 ทาง

เราเลือกแบบบัตรเครดิต แต่จะมี charge 2% เค้าจะมีเวลาว่าให้เราจ่ายถึงวันไหน ถ้าเลยเค้าจะยกเลิกแล้วเราต้องมากรอกใหม่

8. เมื่อชำระเงินเสร็จแล้วก็จะเป็นแบบนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

9. เราสามารถเข้ามาดูได้ว่าตอนนี้ตัวใบชมพูอยู่ที่ไหนแล้ว

เดียวเค้าจะส่งมาให้เราที่บ้านตามที่อยู่ที่เรากรอกนั่นเอง สำหรับตอนนี้ก็สามารถพิมพ์หลักฐานว่าได้ทำการจ่ายเงินแล้วนะ แค่กำลังรอกรมธรรม์ให้ส่งมาอยู่ ถ้าโดนตำรวจเรียกก็เอาใบที่พิมพ์ให้เค้าดูเลยยย

10. พอกรมธรรม์มาถึงก็เตรียมตัวในการติดรถได้!

Image result for กรมธรรม์ ภาษีรถยนต์

 Credit to: Autodeft.com

เสร็จแล้ว แค่นี้ ง่ายมากกกก และไม่ต้องลุกออกจากที่นั่งเลยด้วย สบาย ๆ เราสามารถที่จะต่อภาษีล่วงหน้าได้ถึง 3 เดือน หรือ 90 วัน ถ้างั้นรีบไปต่อกันนะ


เรียบเรียง ohmissannabella.com

Comments

comments