
หลังจากที่เขียนบทความเรื่องชีวิตเรียนจบ และการทำงานแรกไปในบทความนี้ เราก็ได้ทำงานอีกสักพัก ก่อนที่ตัดสินใจอย่างแน่นอนแล้วว่า ยัง ๆ ก็ต้องมาเรียนต่อให้ได้ มีอะไรเกิดขึ้นที่ทำให้เราอยากมาเขียนบทความเพิ่มเป็นภาคต่อจากที่เขียนมา สำหรับ ชีวิตระหว่างเรียนต่อที่ต่างประเทศ
เนื่องจากเพิ่งผ่านวันเกิดเมื่อต้นเดือนสิงหาที่ผ่านมา ตอนนี้ก็อายุ 24 ก็ไม่เด็กแล้วนะเนี้ย แปป ๆ ก็จะ 25 แล้ว สำหรับปีนี้เราลาออกจากงานแรกที่กำลังไปด้วยสวย เพื่อจะมาตามหาประสบการณ์อยู่ต่างประเทศที่เราไม่เคยมีมาก่อน นั่นด็คือการมาเรียนต่อโทที่ออส
การมาเรียนต่อในครั้งนี้สอนอะไรเราเยอะกว่าที่คิด ไม่ใช่แค่เราจะได้ปริญญากลับไทย แต่เราได้แง่คิดเรื่องชีวิต และอนาคตเยอะมากเมื่อได้มาอยู่คนเดียว และอยู่ด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก หนีออกจากชีวิตที่เคยสบาย มีทุกอย่างพร้อม มีทุกคนทำทุกอย่างให้ และทางโรยด้วยกลีบกุหลาบ จากเรียนจบมหาลัยดัง พูดภาษาอังกฤษเก่ง มีงานทำทันที ได้เงินเดือนเยอะ คิดว่าชีวิตมีหมดแล้วละ I really have it all แต่ดันรู้สึกไม่พอใจ
ชีวตมันสบายไปวะ ใช้เงินไปวัน ๆ ไม่มีทิศทางเท่าไหร่ อยากไปเที่ยวก็ได้ไป แต่มันรู้สึกขาดความท่าทายในชีวิต รู้สึกอยากลองไปอยู่คนเดียว independent จากสิ่งที่สบาย ๆ ที่บ้าน และอยากรู้ว่าไอที่คิดว่าเราเก่งนักเก่งหนาเนี้ย มันเก่งจริงไหม ก็เลยขอครอบครัวไปเรียนต่อ ไม่ 1 แต่ 2 ปี
เพราะอยากไปลอง struggle เราอยากไปลำบากดู อยากรู้ว่าจะโตขึ้นไหม
ความลำบากที่อยากเจอ
และก็ได้มาลำบากสมใจ จากที่คิดว่าเออเราต้องชอบแน่ ๆ เลยประเทศนี้ อยากมาอยู่ต่างประเทศตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว อยากมาใช้ชีวิตเมืองนอก เมืองที่เจริญ ๆ สะอาด สงบ ปลอดภัย หัวทันสมัย และฝรั่งจ๋า แต่กลับไม่ใช่อย่างที่คิดเลย ตั้งแต่คืนแรกก็คิดถึงบ้านแล้ว คิดถึงความสบายมาก โทรไปร้องไห้กับแม่ กับพี่เลี้ยงเกือบทุกวัน ทำอาหารไม่เป็น ไม่อร่อย ซื้อของมาจากซุปเปอร์เยอะไปหมด ตกลงคือซื้อกินข้างนอกถูกกว่า ซักผ้าพัง สีตกไปหมด ห้องสกปรก ฝุ่นเยอะ กลิ่นเหม็น คือแบบบอกเลยว่าไม่เคยเจอตอนอยู่บ้าน เพราะถ้ามาต่างประเทศส่วนใหญ่ก็คือมาเที่ยว ได้นอนโรงแรม airbnb สวย ๆ สะอาด ๆ รีวิวดี ๆ อาหารการกินก็ไม่ต้องคิดมาเรื่องเงิน เพราะมาเที่ยวเราก็มีเงินใช้พออยู่แล้ว เพราะเป็นทริปสั้น ๆ
มาอยู่ที่นี้แตกต่างจากเที่ยวมากจริง ๆ ทุกอย่างคือต้องประหยัด เพราะเรามาอยู่ ไม่ได้มาเที่ยวระยะสั้น ๆ และก็กลับ พออยู่ไปเรื่อย ๆ จะรู้ว่าโอ้โห แพงมากจริง ๆ นี้ขนาดไม่ได้แพงที่สุดในประเทศแล้วนะ และพอมาคิดเลข คำนวนค่าใช้จ่าย สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นกาแฟงี้ ทุกอย่างมัน add up จริง ๆ ทำให้ต้องคิดเยอะขึ้น ยิ่งไม่ได้ทำงาน และกลับมาเป็นนักเรียนแล้วด้วย
ความล้มเหลว และความผิดหวัง จากเทอมแรก
เทอมแรกกับ ชีวิตระหว่างเรียนต่อที่ต่างประเทศ มันทรมานมากกกก จากความคิดที่ว่าเออ นึกว่าตัวเองเก่งนะ ตัวเองนี้แน่มากตอนมา เพราะชอบไปเที่ยวอยู่แล้ว เที่ยวเองเป็น ทำไมจะมาอยู่ต่างประเทศเองไม่ได้ แต่พอมาอยู่จริง ๆ ถึงรู้ว่าไม่เหมือนมาเที่ยวเลย และคิดถึงบ้านสุด ๆ ร้องไห้อยากกลับบ้าน คิดถึงความสบาย คิดถึงอาหาร เหงา คิดถึงเพื่อน มันไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิดไว้ทั้ง ๆ ที่ครอบครัวก็ส่งเงินมาให้อยู่ดีกินดี ตอนนั้นปรับตัวไม่ได้เลย อยากกลับบ้านอย่างเดียว รู้สึกเฟล
เทอมแรกวิชาที่เรียนยาก และเหนื่อยมาก นอกจากปรับตัวและยังมีงานกลุ่มที่ต้องทำกับคนอีกทุกวิชาเลย มีวาเลขที่เราไม่ได้จับมาตั้งแต่มัธยม เพราะมหาลัยก็เรียนอักษรมา คือเทอมแรกยอมออกเงินเองกลับบ้านเลย เพราะอยากกลับไปตั้งหลักจริง ๆ รู้สึก culture shock เพราะไม่เคยมาอยู่มาเรียนต่างประเทศนาน ๆ มาก่อน
พอกลับไทยไม่ถึงอาทิตย์ ผลก็ออก ทุกตัวคือผ่านได้คะแนนดี แต่วิชาที่เราเครียดที่สุดและอ่านเยอะที่สุดคือวิชาที่เราตก และก็ร้องไห้แบบเศร้ามาก รู้สึกเฟล รู้สึกตัวเองโง่ มันทำให้เราเรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่างจากความผิดหวังนี้ เพราะตอนแรกคือ ego และความมั่นใจสูงมาก ว่าเราเก่งนะ เราทำได้ เราตั้งใจยังไงก็ต้องได้ แต่พอมันไม่ได้ เหมือนอกหักเลย ยิ่งคิดยิ่งเจ็บจี๊ด
ดีใจที่เราโชคดี ไม่ต้องเรียนใหม่ สามารถเลือกเรียนตัวอื่นแทนได้ และก็เลยเลือกบัญชีสำหรับเทอมนี้ และรู้สึกว่าดีกว่า
ความรู้สึกหลงทาง ไม่ไปไหน หยุดอยู่กับที่
ช่วงแรก ๆ ของการ ชีวิตระหว่างเรียนต่อที่ต่างประเทศ นอกจากการปรับตัวกับที่ใหม่แล้ว คือไม่ชอบเลยเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่ต้องกลับมาขอเงินครอบครัวอีกครั้ง รู้สึกว่าตัวเอง useless ไร้ค่าสุด ๆ หลังจากที่หาเงินเองได้แล้วเป็นปี และมีความรู้สึกตัวเองโตแล้วที่ทำงานได้ การกลับมาขอเงินเป็นอะไรที่อึดอัดมาก ไม่รู้ว่าคนอืนจะรู้สึกเหมือนเราไหม แต่จากก่อนที่ได้เงินเดือน มันมีความอิสระ และรู้สึกว่าเออ progress เหมือนมีความก้าวหน้าไปไหนสักแห่ง แต่พอมาเรียนกลับรู้สึกหยุดอยู่กับที่
เราเข้าใจว่าก็มาเรียนอะ เป็นนักเรียนนิ เดียวกลับไปก็ไปทำงานแล้ว ไม่ได้เป็นแบบนี้ตลอดไป แต่ความรู้สึกแตกต่างมากจากการขอเงินพ่อแม่ตอนเรียนตรี และกลับมาขอใหม่ตอนเรียนโท
นอกจากเรื่องเงิน ก็คือเรื่องไม่ไปไหน รู้สึกว่าเลือกถูกไหมเนี้ยที่เสียเวลามาเรียนต่อ ไม่ 1 แต่ 2 ปี นอกจากสิ่งที่เรียนรู้สึกว่าไม่ค่อยช่วย หรือใช้งานอะไรได้ในชีวิต และยังเหนื่อย งานกลุ่มเยอะ และค่าเทอมก็โครตจะแพง แทนที่จะทำงานต่อ มาทำไมวะเนี้ย ประสบการณ์หรอ หรือทำงานที่ไทยก็ได้เหมือนกันวะ
รู้สึกหลงทาง รู้สึกเสียเวลา รู้สึกเคว้งมาก แบบเรียนจบโทแล้วไง ก็กลับไปทำงานเดิม ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นก็ 1000-2000 เนี้ยนะ
อนาคตเมื่อเรียนจบ และสิ่งที่เรียนรู้ของคุณค่าของเงินเก็บ
พอมาเทอมที่ 2 และกลับมาเรียนหลังจากได้กลับบ้าน เรายอมรับเลยว่า ดีขึ้นเยอะเลยอะ นอกจากจะรู้แล้วว่าที่มหาลัย ระบบเค้าเป็นยังไง เพราะเราได้ผ่านเทอมแรกมาแล้ว และปรับตัวกับที่อยู่คนเดียวได้ กับ environment รอบ ๆ เรารู้สึกโอเคขึ้นเยอะมาก สิ่งที่เรียนก็น่าสนใจขึ้นด้วย
อาทิตย์ที่ผ่านมา พี่สาวเราโทรมาบอกว่า เออเนี้ย เป็นห่วง เพราะรู้สึกว่าแกไม่เด็กแล้ว และแกไปเรียนต่างประเทศที่แกอยากไปมาตลอด ขอที่บ้านนักขอที่บ้านหนา อยากให้แกเห็นช่วงนี้เป็นช่วงกอบโกย ไม่ว่าจะเงิน หรือประสบการณ์ มันไม่ได้มาง่าย ๆ และไม่ได้มาถูก ๆ ที่บ้านจะไม่มีจ่ายให้แล้วนะ อันนี้คือครั้งสุดท้ายและจบ อยากให้คิดดี ๆ ว่ามาอยู่ออสตามที่อยากแล้ว ให้ทำทุกอย่างที่ทำได้ ใช้เวลาให้คุ้มที่สุด
ที่สำคัญคือเรื่องเงินเก็บ เด็กสมัยนี้ไม่มีเลย เค้าไม่รู้ว่าเรามีมากน้อยแค่ไหน แต่เค้าเป็นห่วงเรื่องนี้ เรายอมรับเลยว่าไม่ค่อยมีเงินเก็บเท่าไหร่ หามาได้เท่าไหร่ก็หมดไปกับการไปเที่ยว คือเก็บเพื่อใช้ ไม่ได้เก็บเพื่อเก็บ หรือเพื่อลงทุนอะไรเลย
แอนนาก็จะ 25 แล้วนะ แปป ๆ ก็จะ 30 มัน now or never นิสัยเก็บเงินไม่ได้ทำกันง่าย ๆ ถ้าไม่เริ่มตอนนี้แกมารู้ตัวอีกทีแกก็แก่แล้ว และตอนนั้นแกจะมาเสียดาย ว่าทำงานเหนื่อยแทบตาย เงินอยู่ไหนหมด
ไม่ได้หายเหนื่อย และรู้สึก safe เลย เงินเป็นใบเบิกทางที่สำคัญที่สุด มากกว่านั้นคือเกราะป้องกันที่ช่วยให้แกไม่ตายเมื่อล้ม เค้าอยากให้ลองนู้นลองนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะยิ่งล้มก็คือยิ่งได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
อยู่ดี ๆ ก็เริ่มเบื่อเที่ยว และอยากจริงจังกับการเก็บเงิน
เราเห็นด้วยกับประเด็นนี้ที่สุด เรื่องเงินเก็บ เราอยู่ในสังคที่คนรอบข้างไม่มีเงินเก็บเลย คนอายุเยอะกว่าเราก็ไม่มี เราก็อยากไปเที่ยว ซื้อเสื้อผ้า กินข้าวอร่อย ๆ แบบนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ถามว่าและเมื่อไหร่จะพอ?
ก็เหมือนกระเป๋า brandname ที่ตอนเด็ก ๆ มีให้อยากได้ไปหมด หลายรุ่น หลายสี หลาย size ซื้อเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ ตอนแรกคิดว่าเที่ยวแล้วกัน สนุกกว่า ได้รูปสวยด้วย และยังเป็นประสบการณ์ชีวิตอีก มีแต่ win win
แต่ถ้าพอคิดไปคิดมาจริง ๆ เที่ยวก็ไม่แตกต่างอะไรกับกระเป๋า brandname เลยนะ มีที่ใหม่ ๆ ให้ไปตลอด ที่เก่า ๆ ที่ไปก็อยากไปอีก มันไม่เคยจบไม่เคยสิ้น เที่ยวกลับมาได้อะไร ได้รูปสวย ๆ ที่ลงในไอจี และก็กลับมาเจอบัญชีที่แทบจะไม่มีเงินเหลือให้ใช้เลย ก็แอบรู้สึกว่ามันก็จริงนะ เหมือนอดเปรี้ยวไว้กินหวาน แต่ตอนอดนานมาก และหวานก็แปปเดียว กลับมาเปรี้ยวอีกละ
ยอมรับเลยว่าพอมาเรียนต่างประเทศ เริ่มรู้สึกเบื่อเที่ยว คือตอนแรกเข้าใจว่าตัวเองจะไปเที่ยวเมืองอื่น ๆ บ่อย ๆ หรือไปประเทศข้าง ๆ อย่าง new zealand เผลอ ๆ อยากไป South America ด้ยเพราะมี direct flight หรือไปเมกาก็ดี ดูไว้หมดแล้วจ้า
แต่พอมาจริง ๆ กลับไม่อยากไปไหนเลย แค่ weekend trip ยังไม่อยากไป อาจจะเพราะเหนื่อยกับการเรียน หรือไม่ก็เพราะทุกอย่างแพงเหลือเกิน แต่หลัก ๆ เราว่าเราเริ่มรู้สึกอิ่มตัวละ พอมาอยู่ต่างประเทศนาน ๆ เริ่มรู้สึกว่ามันก็เหมือน ๆ กันละ
อยู่ดี ๆ ก็เริ่มเห็นด้ยกับสิ่งที่พี่เตือน เราไม่อยากแก่ไปแล้วไม่รู้จักคำว่า financial independence หรืออิสรภาพทางการเงิน เราอยากจะรู้ว่า “ความอุ่นใจ” ของการมีเงินเก็บมันรู้ดียังไง และเราว่าตอนนั้นการไปเที่ยวน่าจะสนุก และน่าจะ deserving หรือเหมาะสมมากกว่า เพราะเราได้ทำงานมาเหนื่อยจริง ๆ และขยัน มีวินัยเก็บเงินมาตลอด
วันนี้เลยอยากมา reflect ความคิดใหม่ ๆ ที่มีมาให้ทุกคนได้ฟังกันเนอะ กับ chapter ในชีวิตหลังออกจากงานแรก และกลับมาเป็นนักเรียนอีกครั้งและต้องมาของเงินพ่อแม่อีกหลังจากเคยทำงานหาเงินเองได้เป็นปี รู้สึกว่ามุมมองมีความเปลี่ยนไปจริง ๆ
Social Media Generation
และเพื่อน ๆ อ่านและว่าไงบ้างเอ่ยย เห็นด้วยไหมว่า generation นี้ไม่ค่อยมีคนเก็บเงิน เราว่าส่วนใหญ่อาจจะมาจากเพราะพวกเรามี social media ด้วยละ ทำให้มีความ FOMO หรือ fear of missing out กลัวตกกระแส กลัวว่าตัวเองไม่สำคัญ เห็นคนไปเที่ยวคาเฟ่นี้ ไปเที่ยวประเทศนี้ ถ่ายมุมนี้ ก็มีความอยากไปบ้าง
เราว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษที่เป็นสัตว์สังคมนะ เราก็ต้องอยากทำอะไรเหมือนที่คนหมู่มากที่เราเห็นใน social media โดยเฉพาะ instagram เนีเยตัวดี อยากมีรูปกับหอไอเฟลเอ่ย อยากมีรูปกับคาเฟ่ katsume บ้าง อยากไปร้านอาหารนี้ เราเชื่อว่าทุกคนต้องมี list ที่อยากไป และส่วนใหญ่ list ที่เที่ยวนั้นคือไม่ได้มาจากเว็บท่องเที่ยว หรือหนังสือท่องเที่ยวไหนหรอก แต่ก็มาจาก tag location ใน instagram นี้ละตัวดี 555
แต่เราว่ามันเป็น lifestyle ที่ไม่ stable ไม่ยั่งยืนมาก ๆ คนที่เค้าไปเที่ยวได้ตลอดเวลาใน instagram เราเห็นแต่ตอนที่เค้าได้ไปเที่ยว มีความสุข เราไม่ได้เห็นเบื้องหลังความลำบากของการอดเปรี้ยวไว้กินหวานของเค้า เก็บเงินเพื่อได้นั่ง business ทำการค้า ขายของอย่างเหนื่อยเพื่อได้ไปเที่ยวยุโรป หรือบางคนอาจจะเกิดาโชคดี บ้านรวย ไม่ต้องทำไรมาก
ขอยอมรับเลยว่าชอบดูพวก social media พวกนี้ และเกิดความเศร้า เพราะเราชอบดูและ compare ชีวิตตัวเองกับชีวิตเค้า เห้ย อยากไปบ้าง เห้ยอยากกินบ้างอะ ไม่ต้องแค่เที่ยว บางครั้งที่เค้าลงเรื่อง relationship เรื่อง success คือสามารถเศร้า และอิจฉา น้อยใจได้ไปหมด
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเป็น เพราะเราก็เคยมีมาบอกว่าเออ เห็นชีวิตแกออกจากดี ได้เที่ยวก็บ่อย บลา ๆ แต่คือเรารู้ตัวเองดีกว่าเราก็ชอบโชว์ด้านดี ๆ อยู่แล้ว ใครเค้าอยากโชว์ด้านไม่ดีอะเนอะ มันทำเสีย mood/vibe กันพอดี
ทุกอย่างเราต้อง take with a grain of salt หรือต้องใช้วิจารณญาณกัน no one is perfect และเราเชื่อว่า not everyone’s life is perfect either 🙂 สู้ ๆ และเราจะโตไปด้วยกันน้าา
edited 28 Nov 2019:
เพิ่งไปเจอ post ใน Facebook อันหนึงที่เราอ่านและรู้สึกว่าน่าสนใจ และก็พูดถึงไอเดียในบทความนี้ เราเลยอยากมา copy paste เผื่อใครไม่ได้เห็น หรือติดตาม page facebook ของเรากัน สิ่งที่เค้าเขียนใน post เราจะใส่เครื่องหมายคำพูดเอานะ:
ตอนเราสร้างเว็บขึ้นมาใหม่ ๆ มีความคิดเหมือนที่คนเขียนพูดถึงคือ
“ต้องเที่ยวต่างประเทศกันอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง (จะเห็นว่ามีเพจท่องเที่ยวต่างประเทศผุดขึ้นมาเต็ม Facebook และทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “อย่ารอเที่ยวตอนแก่” หรือ “ทุกวันนี้คุณต้องรีบเที่ยว มีเงินเมื่อไรให้รีบออกไปเจอโลกกว้าง” กลายเป็นสร้างค่านิยมใหม่ขึ้นมาอีกชุดไปโดยปริยาย)”
ถ้าอ่านหน้า about me คือพูถึงเรื่องที่ว่ามีเงินเก็บเท่าไหร่ควรใช้ไปเที่ยวให้หมด เพราะ life is short และควรใช้ชีวิตตอนนี้เดียวนี้ ไอเดียประมาณว่า live now dont just exist แต่พอโตขึ้นอีกนิด และโดนพี่สาวตักเตือนเรื่องการใช้เงิน บอกเลยว่าตื่น เงินเราก็จริง แต่ทำานหนักมา เราควรมีเงินเป็นเครื่องกันกระแทก เพื่อที่เราจะได้กล้าไปทำอะไรใหม่ ๆ เพราะรู้ว่ายังไงก็มีเงินเก็บไว้รองเรา เงินคือใบเบิกทางที่สำคัญที่สุด
เราอาจจะไม่ได้บ้าเรื่องกระเป๋าแบรนเนมแล้ว เพราะเริ่มปลงว่ามีเท่าไหร่ก็ไม่พอ อยากได้ตลอดเวลา เลยไม่ซื้อมันซะเลย แต่กลายเป็นเราเปลี่ยนมาเป็นใช้เงินเกินตัวเรื่องเที่ยวแทน ก็ไม่แตกต่างกัน เที่ยวครั้งหนึงซื้อกระเป๋าได้ใบ 2 ใบ อาจจะบอกว่าคุ้มเพราะได้ประสบการณ์ชีวิต ได้ memory แต่ถามว่าเงินหายไปไหน ทำงานเหนื่อยมาเป็นปี กลับมาเปิด app k-bank เหลือเงินไม่ถึงพัน ต้องกินแกลบจนกว่าเงินเดือนจะออก มันใช่ชีิวตที่ live now จริงๆไหมอะ มีความสุขแค่ตอนไปเที่ยว 1 อาทิตย์ กับเงินที่หายไปจากการทำงานเป็นเดือน ๆ
“ในปัจจุบันนี้ สังคมเราเป็นสังคมที่เน้นหน้าตา เน้นสถานะทางสังคม และเน้นความรวย ความมั่งมีกันมาก ย่าลืมว่าสมัยก่อนไม่มี Social Media ไม่มี Internet หรือ Facebook และ Instagram เอาไว้โพสต์อวดรวย”
เราเห็นด้วย และเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า FOMO (fear of missing out) หรือกลัวไม่ in trend ฟังดูโง่ แต่ทุกคนเป็น เพราะทำไมถึงทุกคนไปเที่ยวแต่ที่เดิม ๆ tag ร้านเดิม ๆ ลงรูปอาหารเหมือน ๆ กัน ใช้ชุดเหมือน ๆ กันจากร้านไอจีเดิม ๆ (basicsbysita งี้ ก่อนหน้านางไม่เห็นมีใครไปเที่ยวอินเดียสักคน 55) มันคือเรื่องปกติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมที่อย่างมีส่วนร่วม และอยากเป็น part of everything ไม่งั้นจะมี marketing หรอที่เค้าขายไอเดีย ขาย value ที่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ functional เลย symbolic ล้วนๆ
เราบอกเลยว่า social media ทำให้มนุษที่เป็นสัตว์สังคม และนิสัยชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ เป็นในแบบ scale ที่ใหญ่ และ intense กว่ามาก เพราะ social media คืออยู่กับเราทุกวัน เกือบทุกนาที เรานั่งเปิดโทสับมาดู instagram/facebook ตลอด ไม่ว่าจะชีวิตเพื่อน หรือดารา influencer ที่เรา follow จริงไหม
ประเด็นคืออ่านแล้วรู้สึกว่าเห็นด้วยมากๆ และอยากเพิ่มเติม เพราะเราก็คือหนึงในคนที่ทำเพจท่องเที่ยว ที่เป็นหนึงในคนที่สร้างค่านิยมใหม่ขึ้นมา วันนี้เราอยากมาบอกว่าเรามองอะไรเปลี่ยนไป และอยากให้คนอ่านที่ติดตามเราลองคิดดูเพราะมันน่าสนใจมาก
เรียบเรียงโดย ohmissannabella.com